Home | About us | Guestbook
• ความรู้เกี่ยวกับหลักเศรษฐศาสตร์
• ธนาคารแห่งประเทศไทย
• กระทรวงการคลัง
• กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
• Financial Times
• The Economist
• Useful links
กฎของอุปทาน (Law of Supply) จะอธิบายถึงพฤติกรรมของผู้ผลิตในการแสวงหากำไรสูงสุด กฎของอุปทานกล่าวว่า ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตเต็มใจจะนำออกขายในระยะเวลาหนึ่งขึ้นอยู่กับราคาสินค้านั้นๆ ในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น ปริมาณอุปทานจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตมีความต้องการที่จะเสนอขายมากขึ้น เพราะคาดการณ์ว่าจะได้กำไรสูงขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อราคาสินค้าลดลงปริมาณอุปทานจะน้อยลง เนื่องจากคาดการณ์ว่ากำไรที่ได้จะลดลง ลักษณะทั่วไปของเส้นอุปทานจึงเป็นเส้นที่มีลักษณะที่ลากเฉียงขึ้นจากซ้ายไปขวา ภายใต้ข้อสมมติว่าปัจจัยตัวอื่นๆ ที่มีผลต่ออุปทานมีค่าคงที่
รูปที่ 2.4 ลักษณะทั่วไปของเส้นอุปทาน
ปริมาณของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายต้องการจำหน่าย ย่อมแปรผันในทางเดียวกัน กับราคาของสินค้าหรือบริการชนิดนั้นเสมอ
จากกฎของอุปทานสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณขายสินค้า กับระดับราคาสินค้า ด้วยสมการ ดังนี้
<คลิกที่นี่ เพื่อดูตัวอย่าง>
ฟังก์ชันของ อุปทาน (Supply Function) ฟังก์ชันของอุปทาน แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเสนอขายสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง กับปัจจัยชนิดต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนด ปริมาณเสนอขายสินค้าและบริการชนิดนั้น เช่น Qs = f ( Px , C , Py , T , S , .. )
โดยที่ Qs = ปริมาณเสนอขายสินค้าและบริการของสินค้า Px = ราคาของสินค้าที่เสนอขาย C = ต้นทุนการผลิต Py = ราคาของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องกับ ปริมาณ สินค้าที่เสนอขาย T = เทคนิคการผลิต S = ฤดูกาล
1. ตารางอุปทานส่วนบุคคล (individual supply schedule) เป็นตารางตัวเลขแสดงปริมาณอุปทานในสินค้า หรือบริการของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ณ ระดับราคาต่าง ๆ และเช่นเดียวกันกับกรณีของอุปสงค์ จากตารางนี้เราสามารถนำตัวเลข แต่ละคู่ ลำดับของราคาและปริมาณอุปทานมา พลอตเป็นจุด และเมื่อเชื่อมโยงจุดเหล่านี้เข้าด้วยกัน จะได้เส้นอุปทานส่วนบุคคลตามภาพ 6.7 ซึ่งเป็นเส้นที่มีลักษณะ เฉียงขึ้นจากซ้ายไปขวาตามกฎของอุปทาน
2. ลักษณะของเส้นอุปทาน (Supply Curve) เส้นอุปทาน (Supply Curve) มีลักษณะเป็นเส้นตรง ลาดขึ้นจากซ้ายไปขวาความชัน (Slope) เป็นบวก เนื่องจากราคาและปริมาณการเสนอขายมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
รูปที่ 2.5 เส้นอุปทานส่วนบุคคลของชวนสวนเงาะแห่งหนึ่ง
การที่ผู้ผลิตจะนำสินค้าออกมาเสนอขายมากน้อยเพียงใดนั้น นอกจากราคาของสินค้าชนิดจะเป็นปัจจัย ที่กำหนดแล้วยังมีอีกหลายปัจจัย ดังนี้
รูปที่ 2.7 การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทานในสินค้า y
รูปที่ 2.9 เส้นอุปสงค์และอุปทานของตลาดเงาะ
จากตารางและรูปที่ 2.9 ราคาดุลยภาพเท่ากับ 14 บาท ปริมาณดุลยภาพเท่ากับ 70 หน่วย (ปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน) ระดับราคาที่อยู่เหนือราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด (excess supply or surplus) เนื่องจากระดับราคาดังกล่าวสูงกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ผู้ผลิตมีความต้องการที่จะเสนอขายมาก แต่ผู้บริโภคมีความต้อง การซื้อน้อย เกิดความไม่สมดุล ณ ระดับราคาดังกล่าว ถ้าผู้ผลิตมีความต้องการที่จะขายก็จะต้องลดราคาลงมา เพื่อกระตุ้นหรือจูงใจผู้บริโภคให้ตัดสินใจซื้อ (มีความต้องการซื้อ) มากขึ้น โดยสรุป ราคาจะมีแนวโน้มลดลงจากเดิมจนเข้าสู่ราคาดุลยภาพ ในทางกลับกัน ถ้าราคาอยู่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ จะทำให้เกิดภาวะสินค้าขาดตลาด (excess demand or shortage) ซึ่งราคาดังกล่าว ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ผู้ผลิตมีความต้องการที่จะเสนอขายน้อย แต่ผู้บริโภคกลับมีความต้องการซื้อมาก เกิดความไม่สมดุล เมื่อผู้บริโภค มีความต้องการซื้อมาก (อุปสงค์เพิ่ม) ส่งผลให้ราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อจูงใจให้ผู้ผลิตเสนอขายสินค้ามากขึ้น ในที่สุดราคาจะมีแนวโน้มเข้าสู่ราคาดุลยภาพ กล่าวโดยสรุป ระดับราคาที่อยู่สูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาดุลยภาพจะเป็นระดับราคาที่ไม่มีเสถียรภาพ ราคาที่อยู่สูงกว่าราคาดุลยภาพจะมีแนวโน้มลดลงมา ส่วนราคาที่อยู่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ จะมีแนวโน้มสูงขึ้น จนในที่สุดเข้าสู่ดุลยภาพของตลาด ซึ่งเป็นระดับราคาที่ค่อนข้างจะมีเสถียรภาพ เป็นระดับราคา ณ จุดที่อุปสงค์เท่ากับอุปทาน (เส้นอุปสงค์ตัดกับเส้นอุปทาน)
1. การกำหนดราคาขั้นสูง (maximum price control) การควบคุมราคาขั้นสูงเป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้บริโภค ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการที่สินค้าที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตมีราคาสูงขึ้น การควบคุมราคาขั้นสูงรัฐบาลจะกำหนดราคาขายสูงสุดของสินค้านั้นไว้ และห้ามผู้ใดขายสินค้าเกินกว่าราคาที่รัฐบาลกำหนด
รูปที่ 2.10 การเกิดอุปสงค์ส่วนเกินเนื่องจากการกำหนดราคาขั้นสูง
จากรูป 2.10 ณ ระดับราคา OP0 ซึ่งเป็นราคาดุลยภาพ รัฐบาลมีความเห็นว่าเป็นราคา ที่สูงเกินไป ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อน รัฐบาลจำเป็นต้องกำหนดให้ผู้ขายขายสินค้านั้นในราคาเพียง OP1 ซึ่งเมื่อราคาลดลงเหลือ OP1 จะทำให้ผู้ขายมีความต้องการขายลดน้อยลงคือ OQ1 แต่ทางด้านผู้ซื้อต้องการซื้อสินค้านั้นเพิ่มขึ้นเป็น OQ2 ดังนั้นทำให้สินค้าขาดตลาดหรือไม่เพียงพอแก่การจำหน่าย อยู่เท่ากับ Q1Q2 เมื่อเกิดสินค้าขาดตลาด รัฐบาลจึงต้อง ดำเนินมาตรการต่อมาคือการใช้วิธีการ ปันส่วนสินค้า (rationing) การปันส่วนสินค้านี้จะช่วยให้ผู้บริโภค ได้รับสินค้าไปบริโภคอย่างทั่วถึงกัน หรือรัฐบาล อาจดำเนินมาตรการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายเพิ่มเติมโดยการ สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศหรือที่อื่นใดเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดนั้น
2. การกำหนดราคาขั้นต่ำ (minimum price control) การควบคุมราคาขั้นต่ำเป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิต ไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ราคาสินค้าที่ผลิตได้ต่ำเกินไปไม่คุ้มทุนที่ลงไป การควบคุมราคาขั้นต่ำส่วนใหญ่จะควบคุมสินค้าที่เป็นสินค้าเกษตร ซึ่งรัฐบาลเห็นว่าราคาผลผลิตต่ำเกินไป ทำให้เกษตรกรเดือดร้อนการควบคุมราคาขั้นต่ำนั้นรัฐบาลจะกำหนดราคาซื้อขายสินค้า ไม่ให้ต่ำกว่าที่รัฐบาลกำหนดรูปที่ 2.11 การเกิดอุปทานส่วนเกินเนื่องจากการกำหนดราคาขั้นต่ำ
รูปที่ 2.10 การเกิดอุปทานส่วนเกินเนื่องจากการกำหนดราคาขั้นต่ำ
Develop by: Vorapot Vongsarat