ตัวอย่าง อุปสงค์ต่อราคา (Price Demand : Dp)

             เช่น  สมการอุปสงค์ คือ Qdx = 30 - 2Px
                   ดังนั้น ค่า a = 30 และ ค่า b = 2

จากสมการของอุปสงค์สามารถนำมาสร้างตารางและเส้นอุปสงค์ได้ดังนี้

จากตารางของอุปสงค์สามารถนำมาสร้างเส้นอุปสงคี่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ราคาสินค้ากับปริมาณเสนอซื้อสินค้าได้ดังรูปต่อไปนี้

รูปที่ 1.1 แสดงเส้นอุปสงค์ต่อราคา

 

             จากรูปที่ 1.1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้า กับปริมาณเสนอซื้อสินค้า จะได้เส้นอุปสงค์มีลักษณะลาดลงจาดซ้ายไปขวา มีค่า Slope เป็นลบ แสดงว่าค่าความสัมพันธ์ของราคาและปริมาณเสนอซื้อสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม         

  เช่น  :  
ถ้าอุปสงค์อยู่ ณ ระดับราคา 3 บาท/หน่วย ผู้บริโภคความต้องการซื้อสินค้าX จำนวน 24 หน่วย
  ่ถ้าระดับราคาเปลี่ยนแปลงเป็น 6 บาท/หน่วย จะทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า X ลดลงเหลือ 18 หน่วย
  ่ถ้าระดับราคาสูงขึ้นเป็น 15 บาท/หน่วย ผู้บริโภคจะไม่ซื้อสินค้า X เลย

                

             จากความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับปริมาณเสนอซื้อสินค้า เราสามารถอธิบายได้จาก  กฎของอุปสงค์ ( Law of Demand ) ที่ว่า
ราคาเป็นปฏิภาคกลับกับปริมาณเสนอซื้อ หรือ อธิบายได้ว่า “ปริมาณของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ ย่อมแปรผกผันกับระดับราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้น โดยที่ปัจจัยชนิดอื่นๆคงที่”  
             โดยปกติเมื่อเรากล่าวถึงอุปสงค์ จะหมายถึง อุปสงค์ต่อราคาสินค้า สำหรับ อุปสงค์ชนิดอื่นจะมีชื่อเรียกตามประเภทเช่น อุปสงค์ต่อรายได้ หรือ อุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น

   
back