Home | About us | Guestbook

 บทเรียน Online
    บทเรียน
หน้าหลัก
อุปสงค์
อุปทาน
 
 
  แบบทดสอบ
แบบทดสอบก่อนเรียน
แบบทดสอบหลังเรียน
 
 
อาจารย์ประจำวิชา
ติดต่อผู้สอน
Link ที่เป็นประโยชน์กับวิชานี้

  • ความรู้เกี่ยวกับหลักเศรษฐศาสตร์

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย

  • กระทรวงการคลัง 

  • กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์

  • Financial Times 

  • The Economist 

  • Useful links  

 
 
 
Link  อื่น ๆ ที่สนใจ
 

จำนวนผู้เข้าชม
 
   
 
 
 
คำอธิบายรายวิชา

วิชาหลักเศรษฐศาสตร์ รหัสวิชา 3200-1001 จำนวน 3 ชั่วโมง 3 หน่วยกิต

            ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปทางเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์ อุปทาน และการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน ดุลยภาพของตลาด ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน ทฤษฏีพฤติกรรมผู้บริโภค ทฤษฏีการผลิต ต้นทุนการผลิตและรายรับจากการผลิตตลาดและการกำหนดรายได้ประชาชาติ การบริโภค การออม การลงทุนและการกำหนดเป็นรายได้ประชาชาติ วัฎจักรธุรกิจ
           
มาตรฐานรายวิชา
            1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ ที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจทุกประเภทการลงทุน และการกำหนดราคาผลผลิต
          
  2. สามารถนำหลักเศรษฐศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในงานอาชีพและชีวิตประจำวัน 
           
จุดประสงค์รายวิชา
            1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
          
  2. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุปสงค์  อุปทาน ราคาดุลยภาพ และความยือหยุ่น
          
  3. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฏีพฤติกรรมผู้บริโภค
          
  4. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฏีการผลิต การกำหนดราคาและปริมาณผลผลิต ในตาลาดประเภทต่าง ๆ
          
  5. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ การกำหนดเป็นรายได้ประชาชาติ
          
  6. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร  การคลัง  นโยบายการเงิน  นโยบายการคลัง
          
  7. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจ
          
  8. เพื่อให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของหลักเศรษฐศาสตร์
สาระการเรียนรู้
            1. อุปสงค์
          
  2. อุปทาน
           
ผลการเรียนที่คาดหวัง
            1. อธิบายความหมาย ชนิด และกฏของอุปสงค์ ตลอดจนปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์
          
  2. อธิบายการเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อและการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ได้ 
          
  3. อธิบายความหมาย กฏของอุปทาน และปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานได้ 
          
  4. อธิบายการเปลี่ยนแปลงปริมาณขายและการเปลี่ยนแปลงอุปทานได้ 
           
การประเมินผล

           °   คะแนนเก็บระหว่างภาค 70% 

           °  สอบปลายภาค 30%

           
           
 หมายเหตุ :
  • นักศึกษาต้องเข้าเรียนครบ 80 % ของเวลาเรียน ตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย จึงจะมีสิทธิเข้าสอบในวิชานี้
  • นักศึกษาที่มิได้เข้าสอบตามวัน เวลา ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จะถือว่า ขาดสอบ   โดยไม่มีการผ่อนผันใด ๆ
           

Develop by: Vorapot   Vongsarat